วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

postest

แบบทดสอบ

ปลาสมุนไพร

          เมื่อเรียนจบเนื้อหาแล้วเรามาทำแบบทดสอบกันนะคะ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเลยค่ะ


flag nutrition


  ธงโภชนาการ

          หน่วยตวงที่ใช้โดยประมาณ
          ข้าว     1  ทัพพี     =   60  กรัม
          ผักสุก   1  ทัพพี     =   40  กรัม
          ผลไม้   1  ส่วน      =  กล้วยน้ำว้า 1  ผล หรือ ส้ม  1  ผล หรือ เงาะ 4  ผล  หรือฝรั่ง 1/2 ผล
                                        หรือกล้วยหอม  1/2  ผล
          เนื้อสัตว์  1  ช้อน    =  15  กรัม  หรือ ปลาทู  1/2  ตัว  หรือไข่  1/2  ฟอง หรือเต้าหู้เหลือง
                                         1/2  แผ่น
       


วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Nutrition

การกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ

          การกินอาหารตามหลักโภชนาการ  คือ  การกินอาหารให้ครบทุกหมู่ในแต่ละมื้อ  ในปริมาณที่พอเหมาะ  และให้ได้ปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย  การกินอาหารที่ถูกต้องทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี  แข็งแรงและเจริญเติบโตสมส่วน  ในการกินอาหารให้ถูกต้องเพื่อนสุขภาพที่ดี  เราควรศึกษาข้อปฏิบัติต่อไปนี้



ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี (โภชนบัญญัติ 9 ประการ)


1.               รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
2.               รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
3.               รับประทานพืชผักให้มาก และรับประทานผลไม้เป็นประจำ
4.               รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
5.               ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6.               รับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอสมควร
7.               หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด
8.               รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9.               งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

energy


ตารางแสดงข้อกำหนดความต้องการพลังงานที่ควรได้รับใน 1 วันสำหรับเด็กไทย



เพศ
อายุ (ปี)
พลังงาน(กิโลแคลอรี)
เด็กเล็ก
 1 – 3
4 – 6
7 - 9
1,200
1,450
1,600
เด็กผู้ชาย
 10 – 12
13 – 15
16 – 19
1,850
2,300
2,400
เด็กผู้หญิง
 10 – 12
13 – 15
16 – 19
1,700
2,000
1,850


พลังงาน  1 กิโลแคลอรี  คือพลังงานที่ทำให้น้ำ 1,000 กรัม มีอุณหภูมิสุงขึ้น 1 องศาเซลเซียส


Nutrition & Energy

สารอาหารกับพลังงาน


อาหารทะเล

         พลังงานที่เราใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  เรียนหนังสือ  เล่นกีฬา  พูดคุยกับเพื่อน  หรือทำสิ่งต่าง ๆ ได้จากสารอาหาร ประเภทโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมัน  เด็ก ๆ รู้หรือไม่ว่าในแต่ละวันเราต้องการพลังงานในปริมาณเท่าไร  ถ้าอยากรู้คลิกหน้าต่อไปเลยค่ะ 


       

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Water

น้ำ

น้ำดื่ม 


           น้ำเป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญมาก  เพราะว่าร่างกายต้องใช้น้ำในกระบวนการต่าง ๆ ของชีวิต  เช่นการย่อยอาหาร  การขับถ่ายของเสีย  และการลำเลียงสารที่ร่างกายต้องการ ร่างกายต้องการน้ำประมาณ 2 ลิตรต่อวัน  ซึ่งอาจได้จากอาหาร  การดื่มน้ำ  และเครื่องดื่มต่าง ๆ ดังนั้นสาารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพมนุษย์จึงมี  6  ประเภท

          น้ำมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต ดังนี้
          -  ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
          -  นำสารอาหารและแก๊สออกซิเจนไปสู่เซลล์
          -  ช่่วยให้ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายเป็นปกติ
          -  ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย
          -  ช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินมาใช้ได้
          -  ช่วยหล่อลื่่นอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหว เช่น ข้อต่อ
          
          หากร่างกายขาดน้ำจะเกิดผลเสียดังนี้
          -  การขับถ่ายของเสียไม่เป็นไปตามปกติ
          -  เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานไม่เป็นปกติ
          -  ปากแห้ง  ผิวหนังแห้ง  และไม่ชุ่มชื้น

Fat

ไขมัน


 น้ำมันถั่วเหลือง

          ไขมัน  เป็นสารอาหารที่ได้จากไขมันพืชและสัตว์  เช่น  น้ำมันหมู  น้ำมันถั่วเหลือง  ถั่ว  งา  รำ  เนย เป็นต้น
          ประโยชน์  ให้พลังานและความอบอุ่นของร่างกาย  และเป็นตัวทำละลายวิตามิน  A  D  E  K  เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินทั้ง 4  ชนิดนี้ไปใช้ประโยน์ได้



Mineral



แร่ธาตุ

 ผักใบเขียว

          แร่ธาตุเป็นสารอาหารที่ได้จากอาหารต่าง ๆ เช่นอาหารทะเล  ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์  นม  ไข่แดง
ช่วย ควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ  และชะลอความเสื่อมของร่างกาย  ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพดี  แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมีดังนี้




แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ และประสาท มีมากใน นม ไข่แดง ถั่ว หอยนางรม  กุ้งแห้ง  ปลาตัวเล็ก ๆ ผักใบเขียว หากขาดแคลเซียมจะทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน กระดูกเปราะและหักง่าย ๆ  และทำให้ฟันผุ


ฟอสฟอรัส ทำหน้าที่ร่วมกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน มีมากในนม เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ผัก  หากขาดจะมีอาการต่าง ๆ คล้ายการขาดแคลเซียม


เหล็ก  เป็นส่วนประกอบสำคัญของสารเฮโมโกบินในเม็ดเลือดแดง  มีมากในเครื่องในสัตว์  ไข่แดง  ตับ  ผักใบเขียว  หากขาดจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง  มีอาการอ่อนเพลีย  และเหนื่อยง่าย


ไอโอดีน   ควบคุมการเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงาน  หากขาดจะทำให้เป็นโรคคอพอก  ไอโอดีน  มีมากในอาหารทะเลทุกชนิด  เกลือทะเล


โซเดียม  ช่วยควบคุมความสมดุลของน้ำภายในและภายนอกเซลล์  โซเดียม  มีมากในเกลือ  และอาหารที่มีส่วนประกอบของเกลือ  เช่นน้ำปลา  กะปิ  เป็นต้น  หากขาดโซเดียมจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย  ความดันโลหิตต่ำ  และเป็นตะคริวง่าย


ฟลูออไรด์  เป็นสารเคลือบฟัน  และป้องกันฟันผุ  ฟลูออไรด์มีมากในผัก  ผลไม้  อาหารทะเล  น้ำดื่มจากธรรมชาติ  หากขาดจะทำให้ฟันผุง่าย



Vitamin2


วิตามินประเภทที่ละลายในไขมัน




วิตามิน A ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยบำรุงผิวหนังและนัยน์ตา ถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้จะทำให้ผิวแห้งหยาบ เป็นโรคตาฟาง หรืออาจทำให้ตาบอดได้ วิตามิน A มีมากในน้ำมันตับปลา ไข่แดง นม ผักและผลไม้ที่มีสีแดง เหลือง และเขียว เช่น ฟักทอง แครอท มะละกอสุก ผักบุ้งฯลฯ


วิตามิน D ช่วย ในการดูดซึมและการใช้แคลเซียมในร่างกายเพื่อสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายรวมทั้งช่วยป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็กและ ผู้ใหญ่ วิตามิน D พบมากในน้ำมันตับปลา และร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้โดยอาศัยแสงแดด


วิตามิน E  ช่วยในระบบสืบพันธุ์  เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ   ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น   ช่วยให้ปอด ทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่ายมีมากในน้ำมันจากธัญพืช และถั่วประเภทเปลือกแข็ง


วิตามิน K ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีเลือดออกตามบาดแผล   ในทางกลับกัน ยามปกติวิตามินK ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว  พบในผักใบเขียวทุกชนิด หัวผักกาดขาว    แครอท น้ำมันตับปลา  ตับ เนยแข็ง ไข่ขาว ถั่วหมัก





Vitamin1


วิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ



วิตามิน B1 จำเป็นสำหรับการเผาผลาญอาหาร ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบประสาท และการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ถ้าบริโภควิตามินชนิดนี้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายจะทำให้เกิดโรคเหน็บ ชา อาหารที่มีวิตามิน B1 มาก คือ เนื้อหมู ข้าวซ้อมมือ ถั่วเมล็ดแห้ง เครื่องในสัตว์และเห็ดฟาง เป็นต้น



วิตามิน B2  จำเป็นสำหรับการเผาผลาญอาหาร ช่วยบำรุงผิวหนังและนัยน์ตา ถ้าบริโภควิตามินชนิดนี้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายจะทำให้เป็นโรคปากนก กระจอก อาหารที่มีวิตามิน B2 มากคือ ตับ หัวใจ ข้าวซ้อมมือและนม เป็นต้น



วิตามิน C สลายตัวได้ง่ายเมื่อวางทิ้งไว้ในอากาศธรรมดา จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเกี่ยวกับการใช้ออกซิเจนในร่างกาย ช่วยในการต้านทานโรค บำรุงเหงือกและช่วยให้ผนังเส้นเลือดฝอยแข็งแรง การบริโภควิตามิน C น้อยกว่าความต้องการของร่างกายทำให้เป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน อาหารที่มีวิตามินซีมาก ได้แก่ ส้ม ฝรั่ง และมะขามป้อมเป็นต้น




Vitamin

วิตามิน


          วิตามิน  เป็นสารอาหารที่ได้จากผักและผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้งเนื้อสัตว์  ไข่  นม  เครื่องในสัตว์

          ประโยชน์  ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ  ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ  
                          ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพดี

          วิตามินแบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ  วิตามินที่ละลายในน้ำ  และวิตามินที่ละลายในไขมัน

protein

โปรตีน

เนื้อสัตว์ ไข่  ถั่ว  นม

          โปรตีน  เป็นสารอาหารที่มีมากในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม  ไข่  ถั่วชนิดต่าง ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่ว  เช่น  เต้าหู้  เต้าเจี้ยว  นมถั่วเหลือง เป็นต้น
          ประโยชน์  สร้างเซลล์กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อกระดูก  ช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ  ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย  รวมทั้งให้พลังงานแก่ร่างกาย




carbohydrate


คาร์โบไฮเดรต



          คาร์โบไฮเดรต  เป็นสารอาหารที่ได้จากอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล  เช่น  ข้าว  เผือก  มัน  อาหารแปรรูปจากแป้ง  ผักและผลไม้ที่มีรสหวาน  เป็นต้น

          ประโยชน์  ให้พลังงานแก่ร่างกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย